คู่มือเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

Unknown Amphur Unknown Province
-

คู่มือเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักงานกิจการยุติธรรม

คู่มือเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักงานกิจการยุติธรรม 1. หลักการแบ่งงานกันทำ เป็นแนวความคิดของใคร ก. Frederick W. Taylor ข. Henry L. Gantt ค. Adam Smith ง. Lilian Gibreth ตอบ ค. Adam Smith Adam Smith นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ ในยุคคลาสสิก (ปี 1776) ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour) ที่ว่าควรแบ่งงานที่มีอยู่ไปยังส่วนต่างๆ ของหน่วยงานจนถึงหน่วยเล็กที่สุดของการปฏิบัติงานซึ่งทำโดยคนงานเพียงหนึ่งคน คนงานแต่ละคนจะได้ปฏิบัติงานเพียงหนึ่งอย่างหรือสองอย่าง ซึ่งเมื่อปฏิบัติงานไปนานเข้าก็จะเกิดความชำนาญ ความชำนาญจะนำไปสู่การเพิ่มปริมาณผลผลิตรวม การเพิ่มผลผลิตย่อมจะทำให้บุคคลในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยนำสินค้าและบริการที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่นที่ตนมิได้ผลิตได้มากขึ้น 2. ข้อใดไม่ใช่หลักการบริหารของ Taylor ก. ศึกษาองค์ประกอบของแต่ละส่วนงาน ข. นำการคัดเลือกแบบศาสตร์มาใช้ ค. ให้ความร่วมือกับคนงานอย่างจริงใจ ง. การบำรุงรักษาองค์ประกอบของมนุษย์ ตอบ ง. การบำรุงรักษาองค์ประกอบของมนุษย์ หลักการบริหาร 4 ข้อ ของ Taylor ได้แก่ 1. นำองค์ความรู้ที่เรียกว่า “ศาสตร์” มาใช้แทนการทำงานตามยถากรรม (Rule of Thumb) คือการศึกษาองค์ประกอบแต่ละส่วนของงาน และค้นหาว่าวิถีทางใดจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดของการทำงานในแต่ละงาน 2. นำการคัดเลือกแบบ “ศาสตร์” มาใช้ให้ครบแล้วจึงฝึกอบรม สอน และพัฒนา คนงานแทนการทำงานแต่ก่อน ซึ่งคนงานจะเลือกทำงานและฝึกฝนด้วยวิธีการของตนเองเท่าที่สามารถจะทำได้ 3. ให้ความร่วมมือกับคนงานอย่างจริงใจ เพื่อให้แน่ใจว่างานนั้นสามารถทำได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้วางไว้ 4. พยายามแบ่งงานและความรับผิดชอบให้เท่าเทียมกันและชัดเจนระหว่าง ผู้บริหารกับคนงานโดยงานของผู้บริหารควรเป็นงานเฉพาะที่ทำได้ดีกว่าคนงานเท่านั้น ซึ่งเมื่อก่อนคนงานจะต้องเป็นผู้ทำงานแทบทุกอย่างในองค์การ ซึ่งผู้บริหารมอบหมายให้ทำ 3. ผู้ใดมีความเชื่อว่า ระบบการทำงานที่ดีที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับการจัดตารางเวลาของงานและการให้รางวัลแก่ผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ก. Henry L. Gantt ข. Henri Fayol ค. Max Weber ง. Ralph C. Davis ตอบ ก. Henry L. Gantt Henry L. Gantt เป็นผู้สืบสารแนวความคิดต่อจาก Taylor โดยมีความเชื่อว่าระบบการทำงานที่ดีที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับการจัดการตารางเวลาของงาน และการให้รางวัลแก่ผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมซึ่งมีหลักการ ดังนี้ 1. การบำรุงรักษาองค์ประกอบมนุษย์ ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการจัดการ 2. เน้นถึงความร่วมมืออย่างกลมกลืนในระหว่างฝ่ายแรงงานและฝ่ายบริหาร 3. พัฒนาวิธีการใช้กราฟแสดงถึงแผนงานและงานที่จะต้องทำทั้งหมด (The Gantt Chart) 4. เน้นความสำคัญในเรื่องของเวลา และต้นทุนในการวางแผน และการควบคุม 4. แนวความคิดของ Frank และ Lilian Gilbreth ได้แบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ คือข้อใด ก. หลักการใช้ร่างกาย ข. หลักการเตรียมสถานที่ทำงาน ค. หลักการออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ ง. ถูกทุกข้อ ตอบ ง. ถูกทุกข้อ Frank และ Lilian Gilbreth เป็นวิศวกรเช่นเดียวกับ Taylor เป็นผู้ที่ชื่นชอบในผลงานของ Taylor ด้วย และมีแนวความคิดที่คล้ายกันในด้านการขจัดความสูญเปล่าและความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานให้หมดไปหรือให้น้อยลง โดยการศึกษาอาการเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะที่คนงานทำงาน ว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด เช่น การศึกษาก่ออิฐของคนงานที่เพิ่มผลงานโดยลดการเคลื่อนไหวทางร่างกายลง โดยรู้จักกันดีในนาม Therblig (ชื่อของ Gilbreth แต่สะกดถอยหลัง) และได้ดัดแปลงมาตั้งเป็นหลักของความประหยัดในการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1. หลักการของการใช้ร่างกาย เช่น มือ เท้า แขน การเคลื่อนไหว จังหวะ 2. หลักการเตรียมสถานที่ทำงาน เครื่องมือเครื่องใช้ ระยะยกขึ้นลง ความสูง ระดับสายตาและเก้าอี้ 3. หลักการของการออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่เหมาะกับงาน 5. นักทฤษฎีการบริหารจัดการทั่วไป ได้แก่ใครบ้าง ก. Henri Fayol ข. Max Weber ค. Ralph C. Davis ง. ถูกทุกข้อ ตอบ ง. ถูกทุกข้อ นักทฤษฎีการบริหารจัดการทั่วไป คือผู้ที่ศึกษาและมองการบริหารทั้งระบบ แล้วนำมาพัฒนาใช้งาน นักทฤษฎีกลุ่มนี้ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Henri Fayol, Max Weber และ Ralph C. Davis 6. Henri Fayol กล่าวว่า หลักการบริหารจัดการนั้นสามารถนำไปใช้ได้เป็นการทั่วไป โดยหน้าที่หลักของฝ่ายการจัดการคือ POCCC ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องของ CCC ตามลำดับ ก. การบังคับบัญชา การควบคุมงาน การประสานงาน ข. การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุมงาน ค. การควบคุมงาน การประสานงาน การบังคับบัญชา ง. การประสานงาน การบังคับบัญชา การควบคุมงาน ตอบ ข. การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุมงาน Henri Fayol เชื่อว่าหลักการบริหารจัดการนั้นสามารถนำไปใช้ได้เป็นการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานบริหารจัดการของเอกชนหรือของรัฐ โดยมีหน้าที่หลักของฝ่ายการจัดการคือPOCCC • การวางแผน (Planning) • การจัดองค์การ (Organizing) • การบังคับบัญชา (Commanding) • การประสานงาน (Coordinating) • การควบคุมงาน (Controling) 7. หนังสือ “The Fundamentals of Top Managment” เป็นผลงานของผู้ใด ก. MaGregor ข. Chester Barnard ค. Ralph C. David ง. Hogo Munsterberg ตอบ ค. Ralph C. David Ralph C. David เป็นผู้เสนอแนวความคิดที่พัฒนาจากแนวความคิดการจัดการของ Fayol และประสบการณ์ของเขาเองในการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เพื่อขยายความคิดของ Fayol การวางแผน การจัดองค์การ และการควบคุม นั้นถือเป็นสากลสามารถใช้งานได้กับองค์การทุกชนิดโดยเน้นเรื่องความจำเป็นที่ต้องมีผู้บริหารมืออาชีพ (Professional manager) และได้ตีพิมพ์ในหนังสือชื่ออันสำคัญของความเป็นผู้นำ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับชุมชน ซึ่งในปัจจุบันเรียกกันว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคม” (Social responsibility) 8. ผลงาน “Psychology and Industrial Efficiency” เป็นผลงานของผู้ใด ก. MaGregor ข. Chester Barnard ค. Ralph C. David ง. Hogo Munsterberg ตอบ ง. Hogo Munsterberg Hogo Munsterberg ผู้ริเริ่มวิธีการเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือโรงงาน หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับบุคคล หรือแต่ละบุคคลที่ทำงาน เพื่อการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุด หนังสือของเขาที่ตีพิมพ์ในปี 1913 ในเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาและประสิทธิภาพในโรงงาน เขาให้เหตุผลว่า ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งจะพิสูจน์ให้เห็นโครงสร้างโดยทั่วไปและอธิบายความแตกต่างระหว่างบุคคลแต่ละคน เขาแนะนำว่าการใช้จิตวิทยาในการทดสอบที่จะปรับปรุงการคัดเลือกลูกจ้าง คุณค่าของการเรียนรู้ทางทฤษฎีในการพัฒนาวิธีการฝึกอบรมและการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อที่จะเข้าใจว่าเทคนิคอย่างไรจะเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับโน้มน้าวจิตใจหรือดึงดูดใจคนงาน ผลงานของเขาคือ “Psychology and Industrial Efficiency, 1912” 9. ผลงาน “The Functions of the Executive” เป็นผลงานของใคร ก. MaGregor ข. Chester Barnard ค. Ralph C. David ง. Hogo Munsterberg ตอบ ข. Chester Barnard Chester Barnard เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งมีความคิดในเรื่องพฤติกรรมขององค์การเช่นเดียวกับ Fayol Barnard เป็นนักปฏิบัติ เขาเป็นประธานของ New Jersey Bell Telephone Company เขาได้ศึกษาและได้รับอิทธิพลจากข้อเขียน Weber แต่แตกต่างกับ Weber ผู้ซึ่งมีความคิดในแง่ของทัศนคติที่ถือว่าองค์การเป็นเครื่องจักรกลและไม่ใช่เป็นเรื่องของบุคคลที่เกี่ยวกับองค์การ Barnard เห็นว่าองค์การเป็นดังเช่นระบบของสังคมที่ต้องการความร่วมมือจากมนุษย์ เขาเชื่อว่าองค์การต่างๆ ได้ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ซึ่งมีการตอบสนองซึ่งกันและกันกับความสัมพันธ์ทางสังคม บทบาทของผู้จัดการ คือ การถ่ายทอดการสื่อสารและการกระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใช้ความพยายามในระดับที่สูงขึ้น Barnard เห็นว่าความสำเร็จส่วนใหญ่ขององค์การนั้นขึ้นอยู่กับการได้มาซึ่งความร่วมมือจากมนุษย์ในองค์การนั้น และยังให้ความเห็นองค์การเป็นระบบเปิด ความสำเร็จทั้งหลายขึ้นอยู่กับการดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มภายนอกและสถาบันภายนอก ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างองค์การ โดยการให้การรับรองของความเป็นอิสระขององค์การที่เกี่ยวกับผู้ลงทุนทั้งหมาย ผู้สนับสนุน ลูกค้า และสถาบันภายนอกอื่นๆ Barnard ได้แนะนำว่าความคิดหรือทัศนคติที่ผู้จัดการจะต้องพิจารณา คือ สภาวะแวดล้อม และการปรับปรุงองค์การให้ดำรงไว้ซึ่งความีดุลยภาพ ทั้งนี้ปรากฎอยู่ในความคิดของเขาในหนังสือ The Functions of the Executive ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1938 10. ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y เป็นผลงานของใคร ก. MaGregor ข. Chester Barnard ค. Ralph C. David ง. Hogo Munsterberg ตอบ ก. MaGregor ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ MaGregor Douglas Mc Gregor มีฐานคติเกี่ยวธรรมชาติของคนอยู่ 2 แบบ เรียกว่า ทฤษฎี X และทฤษฎี Y โดยมีข้อสมมติฐาน ดังนี้ ทฤษฎี X เป็นด้านลบของคนที่ว่าคนทั่วไปเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ถ้าอยากจะให้งานเสร็จต้องใช้ไม้แข็ง ทฤษฎี Y เป็นด้านบวกที่คนไม่เกียจคร้าน รับผิดชอบ และพึงพอใจในการทำงาน ถ้าจะให้งานเสร็จก็เพียงแค่จูงใจให้ทำงานเท่านั้น McGregor เชื่อว่า ทฤษฎี Y สามารถนำธรรมชาติที่เป็นจริงของคนงานมาใช้งานได้ จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักงานกิจการยุติธรรม ใหม่ล่าสุด รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ - แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป - แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ - แนวข้อสอบความเข้าใจด้านภาษาไทย - แนวข้อสอบการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น - แนวข้อสอบงานสารบรรณ งานพัสดุ งานบุคคล - แนวข้อสอบการเงินบัญชีและงบประมาณ - การเขียนหนังสือราช การจัดทําเอกสารที่เกี่ยวกับการประชุม สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510,080-604-2504 ,083-067-4168 ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท ส่งเป็นหนังสือ 2 เล่ม เนื้อหา + แนวข้อสอบ ในราคาเพียงชุดละ 679 บาท รวมค่าจัดส่งแล้ว (EMS) (เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.) ชำระค่าสินค้าและบริการ http://www.thaionline1.com 1. ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขาเซ็นทรัลพระราม 3 เลขที่บัญชี 048-0-17796-3 Sumalee Thongyot 2. ธ.กรุงไทย ออมทรัพย์ สาขาบิ๊กซีสะพานควาย เลขที่บัญชี 980-6-40570-6 Sumalee Thongyot 3. ธ.กรุงศรีอยุธยา ออมทรัพย์ สาขาอุรุพงษ์ เลขที่บัญชี 130-1-28490-7 ชื่อบัญชี Pisitchai Kimchai 4. ธ.ไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขาบิ๊กซี รามอินทรา เลขที่บัญชี 402-398830-4 ชื่อบัญชี Pisitchai & Sumalee ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อนเที่ยงคืนของวันที่โอนเงิน (เช็คที่ อีเมลขยะ ด้วยนะครับ) โอนเงินแล้วแจ้งมาที่อีเมล์ sayrungsingsri@yahoo.com หรือ ส่ง SMS 080-604-2510 ,080-604-2504,083-067-4168 ระบุรายละเอียดการโอนเงิน อีเมล์หรือที่อยู่จัดส่ง รายละเอียดคู่มือเตรียมสอบ รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก *วิธีเปิดไฟล์ PDF คู่มือเตรียมสอบราชการ-รัฐวิสาหกิจ http://www.thaionline1.com/read.php?tid=10604

ราคา : 399 บาท


Warning: Undefined array key "id" in /home/classif1/domains/classified108.com/public_html/post-view.php on line 165

Warning: Undefined variable $pages in /home/classif1/domains/classified108.com/public_html/post-view.php on line 189

Warning: include(_footer.php): Failed to open stream: No such file or directory in /home/classif1/domains/classified108.com/public_html/post-view.php on line 212

Warning: include(_footer.php): Failed to open stream: No such file or directory in /home/classif1/domains/classified108.com/public_html/post-view.php on line 212

Warning: include(): Failed opening '_footer.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/php83/lib/php') in /home/classif1/domains/classified108.com/public_html/post-view.php on line 212