หัวใจของการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่ ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันเป็นวงจร เพื่อดูแลหล่อเลี้ยงต้นอ้อยให้เติบโตสมบูรณ์ คือ 1. ดิน 2. พันธุ์อ้อย 3. น้ำ 4. ปุ๋ย โดยมีวิธีการปลูกดังนี้ - การเตรียมดิน เนื่องจากดินเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของอ้อย การศึกษาเรื่องของดินอย่างลึกซึ้งถึงแก่น ทำให้ทราบว่า ดินที่อ้อยต้องการ จะต้องมีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ น้ำ อากาศ อินทรียวัตถุ และแร่ธาตุ ดังนั้น การเตรียมดินจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน,ซิลิคอน ผสมกันในอัตราที่เหมาะสม เพื่อทำให้ดินมีอินทรียวัตถุมากขึ้น สภาพพื้นที่ที่ใช้ปลูกอ้อยสามารถระบายน้ำได้ดี มีแหล่งน้ำที่สะอาด อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นแหล่งน้ำชลประทาน(ในกรณีใช้น้ำหยด) การเตรียมดิน เนื่องจากอ้อยเป็นพืชอายุยืนและมีรากหยั่งลึกมาก และเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้วสามารถไว้ตอหรือเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง ตลอดจนความยาวนานของการไว้ตอ นอกจากจะขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพลมฟ้าอากาศแล้ว การเตรียมดินนับว่ามีบทบาทสำคัญมาก ชาวไร่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ การไถ สำหรับการเตรียมพื้นที่ ซึ่งปลูกอ้อยอยู่แล้ว และต้องการรื้อตอเก่าเพื่อปลูกใหม่ก็เริ่มต้นด้วยการเผาเศษที่เหลืออยู่บนดินโดยเร็วภายหลังการเก็บเกี่ยว เพราะขณะนั้นดินยังมีความชื้นพอที่จะปฏิบัติไถพรวนได้สะดวก ก่อนใช้ไถบุกเบิกรื้อตอเก่า ควรใช้เครื่องไถระเบิดดินดาน (subsoiler) หรือไถสิ่ว (ripper) ไถแบบตาหมากรุกเพื่อให้ดินนั้นเก็บน้ำไว้มากขึ้นภายหลังฝนตกและดินระบายน้ำได้ดีแล้ว ยังทำให้รากสามารถหยั่งลึกได้มากขึ้นอีกขณะเดียวกัน ถ้าพื้นดินอยู่ในสภาพที่ขาดน้ำก็จะเป็นทางให้อ้อยใช้น้ำใต้ดินได้อีกด้วย เมื่อไถระเบิดดินชั้นล่างแล้วก็ตามด้วยไถจาน ๓ อีก ๓-๔ ครั้ง คือ ไถดะ ๑ ครั้ง แล้ว ไถแปรอีก ๑-๒ ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและฤดูกาลที่ปลูก สำหรับการปลูกต้นฝน อาจไม่จำเป็นต้องเตรียมดินให้ละเอียดมากนัก แต่ถ้าเป็นการปลูกปลายฝนการเตรียมดินให้ละเอียดเป็นสิ่งจำเป็นการไถควรไถให้ลึกมาก ๆ เพื่อให้สามารถเปิดร่องได้ลึกและปลูกได้ลึกด้วย ข้อที่ต้องระวังในการเตรียมดินก็คือ ไถในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะวิธีง่ายที่สุดที่จะทราบว่าดินนั้นมีความชื้นพอเหมาะหรือไม่ก็คือเอาดินในชั้นที่จะมีการไถใส่ฝ่ามือ แล้วกำพอแน่นแบมือออก ถ้าดินมีความชื้นพอเหมาะ จะจับกันเป็นก้อนในลักษณะพร้อมที่จะแตกออกเมื่อมีอะไรมากระทบ ดินที่มีความชื้นน้อยเกินไปก็จะแข็งมากไถลำบาก ถ้าดินมีความชื้นมากเกินไปก็จะจับกันเป็นก้อน นอกจากนี้ถ้าเป็นพื้นที่ลาดเอียง การปฏิบัติต่าง ๆ ในการเตรียมดินต้องกระทำในทิศทางตั้งฉากกับความลาดเอียงเสมอ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดการกร่อนของดินเนื่องจากน้ำ การปรับระดับ เมื่อไถเสร็จแล้วควรปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบพอสมควร และให้มีความลาดเอียงเล็กน้อยทางใดทางหนึ่งที่จะสะดวกต่อการให้น้ำและระบายน้ำ ในกรณีที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนการปรับระดับจะทำให้น้ำไหลช้าลงช่วยลดการชะกร่อนได้อีกทางหนึ่งด้วย ในที่บางแห่งซึ่งมีความลาดเอียงค่อนข้างมากอาจต้องทำคันดินกั้นน้ำเป็นตอน ๆ ตัดขวางทางลาดเอียง พร้อมทั้งมีร่องระบายน้ำด้วย ทั้งคันดินและร่องน้ำควรให้มีความลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำไหลช้าลง บริเวณที่ลาดเอียงมากไม่ควรใช้ปลูกอ้อย การยกร่อง การยกร่องหรือการเปิดร่องสำหรับปลูกอ้อยเป็นสิ่งจำเป็น เพราะนอกจากจะสะดวกแก่การปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การปลูก การให้น้ำและการระบายน้ำแล้ว ยังทำให้ปลูกได้ลึกอีกด้วย การปลูกลึกช่วยให้อ้อยไม่ล้มง่าย ทนแล้งได้ดี และสามารถไว้ตอได้นานกว่าการปลูกตื้น เครื่องยกร่องอาจเป็นผานหัวหมู หรือหางยกร่องซึ่งใช้สำหรับยกร่องโดยเฉพาะแนวร่องที่ยกควรให้ตัดกับความลาดเอียงของพื้นที่ ระยะระหว่างร่องประมาณ ๙๐-๑๔๐ เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้และวัตถุในการปลูก - วิธีการปลูก แบบที่1 ก่อนอื่นจะต้องมีการคัดเลือกพันธุ์อ้อย พันธุ์ที่ควรเลือกต้องมีคุณสมบัติแตกกอดี มีความต้านทานต่อโรคสูง ให้ความหวานสูงและให้ผลผลิตต่อไร่สูงอีกด้วย เมื่อคัดพันธุ์อ้อยได้แล้ว เราจะตัดส่วนที่เป็นข้อตาออกมาเพาะไว้ในถุงเพาะชำทีละถุง จนข้อตาเริ่มงอกเป็นหน่อและโตขึ้น เราก็จะคัดเลือกหน่ออีกครั้ง ใช้วิธีการปลูกด้วยข้อตาโดยตัดห่างจากข้อตาด้านละ 2 นิ้ว 1 ถุงเพาะกล้า ใช้ 1 ข้อตา เมื่อกล้ามีความสูงประมาณ 15 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 30 - 45 วัน ก็นำลงปลูก ซึ่งก่อนปลูกให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นในอัตรา 2.5 กิโลกรัม/แถว(ต้องเป็นอินทรีย์คุณภาพสูงที่มีส่วนผสมสารเพิ่มผลผลิต Active ซิลิคอน) แล้วนำต้นกล้าออกจากถุง นำมาลงดินให้พอดีกับร่องอ้อย โดย 1 ร่อง สามารถลงอ้อยได้ 2 ต้น วางเป็นบล็อกๆ เรียงคู่ขนานกันยาวตลอดร่องอ้อย แล้วจึงกลบดินให้แน่น แปลงปลูกจะมีขนาด 40 เมตร x 40 เมตร(1ไร่) จำนวน 40 แถว โดย 1 แถวจะใช้กล้าจำนวน 1,600 ต้น หรือใช้ทั้งหมดจำนวน 64,000 ต้นต่อไร่ หลังปลูก 2-3 วันใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ้นปุ๋ยน้ำต้องมีคุณภาพสูงที่มีส่วนผสม สารอะมิโนแอซิดและสารโพลิเมอร์(สาร2ตัวนี้ต้องมาจากธรรมชาติ100%) ฉีดครั้งที่ 2 อ้อย 3 เดือน ฉีดครั้งที่ 3 อ้อย 6 เดือน 1ไร่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 100 กิโลกรัม ปุ๋ยน้ำคุณภาพสูง 500-1000 ซีซี ผลผลิตที่ได้ ถ้าอ้อย 1 ต้นหนัก 1กิโลกรัม 64,000 ต้นจะได้น้ำหนัก 64 ตัน/ไร่ ถ้าอ้อย 1 ต้นหนัก 1.5 กิโลกรัม 64,000 ต้น จะได้น้ำหนัก 96 ตัน/ไร่ ถ้าอ้อย 1ต้นหนัก 2 กิโลกรัม 64,000 ต้นจะได้น้ำหนัก 128 ตัน/ไร่ จะขายอ้อยได้เงินถ้าความหวานอยู่ที่ 10 ccs 64 ตันเป็นเงินประมาณ 60,000 บาท/ไร่ ถ้า 96 ตันเป็นเงินประมาณ 93,000บาท/ไร่ ถ้า 128 ตันเป็นเงินประมาณ 125,000บาท/ไร่ สอบถามลายละเอีอดเพิ่มโทร 082-459-0346 อ.อนันต์ อัคราช วิธีการปลูกแบบที่2เท่าที่ปฏิบัติในบ้านเรามี ๒ วิธี คือ ปลูกด้วยเครื่องปลูก และปลูกด้วยแรงคน ๑. ปลูกด้วยเครื่องปลูก เป็นเครื่องมือที่ติดกับรถแทรกเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน นับตั้งแต่การเปิดร่อง ตัดลำต้นอ้อยออกเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร วางท่อนพันธุ์ในร่อง ใส่ปุ๋ยและกลบท่อนพันธุ์ การปลูกด้วยเครื่องต้องใช้แรงงาน ๓ คน คนหนึ่งทำหน้าที่ขับ และควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ส่วนอีกสองคนทำหน้าที่ป้องอ้อยทั้งลำ การปลูกด้วยเครื่องไม่ต้องมีการเปิดร่องหรือยกร่องไว้ก่อนเพียงแต่ไถให้ดินร่วนซุยดีเท่านั้น ชาวไร่รายใหญ่นิยมใช้เครื่องปลูกเพราะทุ่นค่าใช้จ่าย และมีความงอกสม่ำเสมอดี เพราะความชื้นในดินสูญเสียไปน้อยกว่าการปลูกด้วยแรงคนซึ่งต้องยกร่องไว้ล่วงหน้า วันหนึ่งปลูกได้ประมาณ ๑๕-๒๐ ไร่ ๒. ปลูกด้วยแรงคน ในทางทฤษฎีแนะนำให้เปิดร่องแล้วปลูกทันที แต่ในทางปฏิบัติชาวไร่มักจะเตรียมดินแล้วยกร่องคอยฝน เมื่อฝนตกมากพอก็จะรอจนดินหมาด แล้วจึงลงมือปลูก ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยรองพื้นแล้วกลบปุ๋ยก่อนวางท่อนพันธุ์ การปลูกก็ใช้วิธีวางท่อนพันธุ์ให้ราบกับพื้นร่องแล้วกลบดินให้หนาประมาณ ๕-๑๕ เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูปลูก ถ้าปลูกหน้าฝนกลบบาง หน้าแล้งกลบหนา ขณะปลูกต้องมีการคัดเลือกท่อนพันธุ์ไปด้วย ควรปลูกเฉพาะท่อนพันธุ์ที่มีตาสมบูรณ์เท่านั้น ระยะปลูกแตกต่างกันไปตามสถานที่ โดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างแถวตั้งแต่ ๙๐เซนติเมตร ส่วนระยะระหว่างท่อนห่างกัน 20 เซนติเมตร วัดจากกึ่งกลางท่อนหนึ่งถึงกึ่งกลางของอีกท่อนหนึ่งอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวไร่ขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับท่อนพันธุ์ ทำให้ความงอกต่ำจึงต้องใช้ท่อนจึงต้องใช้ท่อนพันธุ์มากขึ้น เช่น ปลูกโดยวางท่อนพันธุ์เป็นคู่ติดต่อกันไป หากชาวไร่ใช้ท่อนพันธุ์ ๓ ตา และมีการระวังในการเตรียมท่อนพันธุ์แล้วจะใช้ท่อนพันธุ์ประมาณ ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ ท่อนต่อไร่เท่านั้น แทนที่จะใช้ ๖,๐๐๐-๘,๐๐๐ ท่อนต่อไร่อย่างเช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ นอกจากนี้ก็มีชาวไร่บางรายที่นิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำลงในร่อง โดยมิได้สับให้ขาดจากกันเป็นท่อน ๆ วิธีนี้ไม่ถูกต้องเพราะอ้อยจะงอกเฉพาะปลายกับโคนเท่านั้น วิธีที่ถูกคือ เมื่อวางอ้อยทั้งลำแล้วใช้มีดสับให้ขาดเป็นท่อน ๆ ละ ๒-๓ ตา วิธีนี้จะช่วยประหยัดแรงงานได้มาก แต่อ้อยที่ใช้ทำพันธุ์ต้องมีอายุระหว่าง ๕-๘ เดือนจึงจะได้ผลดี ในกรณีที่ดินแฉะหรือมีน้ำขังเล็กน้อย ควรปลูกโดยวิธีปักท่อนพันธุ์ให้เอียงประมาณ ๔๕ องศากับแนวดิ่ง และควรฝังให้ลึกประมาณสองในสามของความยาวท่อนพันธุ์ วิธีใส่ปุ๋ย ให้ใส่แบบวิธีที่1 คือปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 100 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยน้ำคุณภาพสูง 500-1000 ซีซี/ไร่ อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 082-4590346 อ.อนันต์ http://www.siamadoxy.com/win-gold.html