ข่าวประชาสัมพันธ์ “ งานบริการทันตกรรมเคลื่อนที่ บทพิสูจน์หนึ่งของความสำเร็จของศูนย์แพทย์ทหารบก จังหวัดชายแดนใต้ ” จากความตั้งใจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่จะสรรสร้างโครงการที่มี่ประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนในเขตจังหวัดชายแดนใต้ โครงการศูนย์แพทย์ทหารบก จังหวัดชายใต้จึงเกอดเพื่อที่จะให้การช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้เหล่าประชาชนในเขตจังหวัดชายแดนใต้ จากจุดเริ่มต้นที่ศูนย์แพทย์กำเนิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องการริเริ่มและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยในจังหวัดชายแดนใต้ ในเรื่องของการรักษาพยาบาลและการสาธารณสุขขั้นต้น โดยจัดสร้างอาคารศูนย์แพทย์ทหารบกจังหวัดชายแดนใต้ขึ้น ณ. ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี โดยแรกเริ่มมีการให้บริการด้านการตรวจรักษา ( ผู้ป่วยนอก) เพียงบริการเดียวเท่านั้น และ เมื่อ เดือนตุลาคม 2553 ตามดำริ ของ พล.ท.พิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาค 4 ( ผอ.รมน. ภาค 4 ) ให้ศูนย์การแพทย์ทหารบกจังหวัดชายแดนใต้ ให้บริการทันตกรรม อุดฟัน ถอนฟันและเสริมด้วยบริการใส่ฟันให้กับมวลชนชาวไทยพุทธ และชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยมูลเหตุที่ว่า การบริการทันตกรรมใส่ฟัน ในสามจังหวัดชายแดนใต้มีอยู่น้อยมาก ราคาก็แพง และทำให้ประชาชนที่ยากไร้เข้าไม่ถึงการรักษา ใช้เวลานาน บริการจากรพ.ของรัฐ มีทันตแพทย์จำนวนน้อย ใช้เวลารอคอยคิวนาน หลายคนต้องใช้เหงือกอดทนเคี้ยวอาหารเป็นเวลานานหลายปี พล.ท.พิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาค 4 ( ผอ.รมน. ภาค 4 ) ในฐานะผู้รับผิดชอบด้านความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เห็นว่าประชาชนมีความเดือดร้อนจึงดำริให้รวบรวม บุคลากรจากกรมการแพทย์ทหารบกที่มีความชำนาญในเรื่องของการใส่ฟัน หรือทันตกรรมประดิษฐ์ เพื่อ ใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ บางส่วน หรือ ทั้งปาก เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ที่มีความขาดแคลน ศูนย์แพทย์ทหารบกจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ส่งรถทันตกรรมเคลื่อนที่ หมายเลข /2 มาให้บริการและได้มอบหมายให้ พ.อ.ยุทธนา คันธา ผอ.กองทันตกรรม รพ.ค่ายสุรนารี ราชการสนาตำแหน่ง รองหน.ศพบ.จชต (พ.ศ.๒๔๔๓) เป็นทันตแพทย์อาวุโส ที่มีความชำนาญทางการใส่ฟันพร้อมกับสนับสนุนงบประมาณให้…โดยมีผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทบ เมื่อบริการทันตกรรมใส่ฟัน ให้กับมวลชนที่มีความใกล้ชิดกับทหาร และเยาวชนกลุ่มเสี่ยง สามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่น พร้อมสร้างความคุ้นเคย จากที่หวาดระแวงก็กลับมาเป็นมิตรกับทหารมากขึ้น และเป็นโอกาสในการพูดคุยสร้างความสัมพันธ์กันมากขึ้น เพราะเมื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงออกมาจากบ้านมาเพื่อรับบริการใส่ฟัน ในค่ายทหารจะต้องพาญาติมาด้วย พวกเขาก็ได้มาเห็นว่า ทหารก็เหมือนกับประชาชนธรรมดาคนหนึ่งนั่นเอง และพวกเขาสามารถที่จะพูดคุยและปรับทุกข์ผูกมิตรให้กันและกันได้ โดยเราให้โอกาส เขาก้าวออกมาจากพื้นที่ที่เสี่ยงภัย ได้ออกมาสร้างกิจกรรมนอกพื้นที่กับหน่วยทหาร ทำให้พวกเขาเหล่านั้นรู้สึกถึงน้ำใจที่ทหารมอบให้กับประชาชน ผลงานในรอบปี ๒๕๕๓ สามารถที่จะให้บริการใส่ฟันให้กับมวลชนได้กว่า ๘๐๐ ราย โดยความต่อเนื่องของการให้บริการนับเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกให้ประชาชนมีความใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ หรือการที่ทหารอยู่เคียงข้างเพื่อเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมสุข มีความห่วงใยประชาชน และปรารถนาให้ความร่วมมือสามารถ ให้ชาวไทยพุทธ - มุสลิม ไม่แตกแยกทางศาสนาให้ร่วมกันรู้สึกว่าคนไทยทั้งผองต่างอยู่ในใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ล้วนเป็นพี่น้องกัน สามรถที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนเหมือนดังที่เคยเป็นมาในอดีต