ข้อดีของยาสมุนไพร เนื่องจากสมุนไพรมีคุณสมบัติทางพฤกษาเคมี(Phytochemical) ประกอบด้วยสารที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกายหลากหลาย เช่น Alkaloid,Glycoside,Antibiotic. มีสรรพคุณในการออกฤทธิ์หลายทาง 1.ไม่ทำให้เกิด toxic ต่อตับและไต แม้ใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานก็ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ 2.ไม่ทำให้เกิดการดื้อยา(resistant) เหมือนการใช้สารเคมี เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะในสมุนไพรมีสารประกอบหลายชนิด มีสรรพคุณในการออกฤทธิ์หลายทาง (multifunctional) ดังนั้นจุลินทรีย์จึงยากต่อการผลิตสารเคมีออกมาต่อต้านได้ ซึ่งต่างจากการใช้สารเคมี เพราะการใช้สารเคมีส่วนมากจะใช้ซ้ำๆกลับไปกลับมา จึงง่ายต่อการที่เชื้อโรคจะปรับตัวต่อต้านยาได้โดยง่าย 3.Alkaloid และ Glycoside เมื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย สารที่มีประโยชน์ก็จะถูกดูดซึม ส่วนสารที่ไม่มีประโยชน์ร่างกายก็จะขับทิ้งได้โดยง่าย และไม่ก่อให้เกิดการสะสม ของเสียเหมือนสารเคมี ดังนั้นการใช้สารธรรมชาติจึงไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ ข้อแนะนำการใช้สมุนไพรรักษาโรคท้องเสีย เนื่องจากสมุนไพรแต่ละชนิด มีคุณสมบัติทางพฤกษาเคมีที่แตกต่างกัน กรรมวิธีการแปรรูปจึงแตกต่างกัน บางชนิดละลายได้ดีในน้ำ บางชนิดละลายในสารอินทรีย์ ดังนั้นผู้ที่ผลิตยาสมุนไพรควรมีความรู้ในการแยกสารสำคัญของพืชแต่ละชนิดเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ สำหรับยาแก้ท้องเสีย เพื่อการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ในตำหรับยาควรมีค่า MIC สูงกว่ายาปฏิชีวนะ จึงจะได้ผล สำหรับยาแก้ท้องเสียตำหรับนี้มีค่า MIC สูงกว่า ค่าของยาปฏิชีวนะ เช่น Tetracyclin เนื่องจากยาตัวนี้มีค่า lnhibition zone >19ml ***ค่าของระดับยาที่สามารถระงับการเจริญเติบโตของเชื้อ (minimal inhibitory concentnation, MIC)*** ข้อแตกต่างของยาสมุนไพรกับยาเคมี ยาสมุนไพร...มีคุณสมบัติในการปรับเปลี่ยนทางกายภาพ หรือทางฟิสิกส์ที่ก่อให้เกิดความสมดุล และเหมาะสมต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกายสัตว์ ทำให้ร่างกายสมบูรณ์ และไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ยาเคมี...มีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ โดยเปลี่ยนแปลงกลไกชีวเคมีระดับเซลล์ และระดับโมเลกุล โดยไม่ปรับสมดุลทางกายภาพ ทำให้ร่างกายต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าการใช้ยาสมุนไพรในการฟื้นฟู และปรับเปลี่ยนทางกายภาพให้ปกติ สารออกฤทธิ์ต่อต้านจุลินทรีย์ที่มีผลทำให้เกิดท้องร่วง 4’-trimethoxyflavone ในกระชายดำ (ต้านเชื้อ Candida albicans) α-ponin และ tannin พบในลูกเบญกานี, เปลือกมังคุด (ยับยั้งการเจริญเติบโตของ E.coli ,Salmonella และ Staphytococcus ,B.cereus) Sesquiterpenoids ในใบฝรั่ง มีฤทธิ์ทำลายเชื้อบิด มีคุณสมบัติเท่า ยารักษาบิด salinomycin แต่ถ้าใช้เดี่ยวๆมักดื้อยา Curcumin .ในขมิ้นชัน มีคุณสมบัติ ยังสามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย (Escherichia coli) แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ ลดการหดตัวของลำไส้จึงทำให้อาการท้องร่วงลดลงได้ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ข้อควรระวังคือ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าขนาดรักษา 2 เท่า ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ สรรพคุณ : มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และช่วยสมานแผลในกระเพาะ-ลำไส้ของสัตว์ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารดำเนินไปได้อย่างปกติ สัตว์เลี้ยงจึงไม่แคระแกรน วิธีการใช้ : ป้องกัน : 1 ซีซี / 1กิโลกรัม รักษา : 2 : ซีซี / 1 กิโลกรัม วิธีใช้ : เช้า – เย็น