โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินลดลง ทั้งนี้ถ้ามีระดับน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท ชนิดของโรคเบาหวาน 1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน – มักพบในผู้ที่อายุน้อย สาเหตุเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย จำเป็นต้องได้รับอินซูลินโดยการฉีดเท่านั้น 2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน – ส่วนใหญ่พบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี อินซูลินยังคงผลิตได้เหมือนเดิน แต่ร่างกายมีการตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยมาก รักษาโดยการควบคุมอาหาร หรือการกินยาควบคุมน้ำตาลช่วย คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่? 1. ปวดปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้นโดยเฉพาะเวลากลางคืน? 2. กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง? 3. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง? 4. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ? 5. อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก? หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้นมากกว่า 3 ข้อ คุณเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน!! “อินซูลิน” ขนส่งพลังงานเข้าสู่เซลล์ อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยตับอ่อน มีหน้าที่ในการขนส่งน้ำตาลในเลือดเข้าไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย เพื่อใช้ในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ โดยปกติแล้วเมื่อมีน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ตับอ่อนจะถูกกระตุ้นให้หลั่ง อินซูลิน แล้วอินซูลินก็จะเข้าจับกับน้ำตาลเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งร่างกายมีอินซูลิน ไม่เพียงพอรวมถึงร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เนื่องจากน้ำตาลไม่สามารถเคลื่อนย้ายเข้าสู่เซลล์และนำไปใช้เป็นพลังงานได้ การรับประทานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด - ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล - รับประทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น - ทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งขึ้น - ใช้น้ำตาลเทียมเช่น “ซูคราโลส” สำหรับเครื่องดื่มหรืออาหารที่ต้องการความหวาน - เครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเช่น อบเชย หรือกรดอัลฟา-ไลโปอิก ก็เป็นอีกทางเลือก เพื่อการควบคุมระดับน้ำตาล