“ ญาลัน นันบารู” กว่าสองปีในการเป็นเส้นทางทางอันสดใสของชีวิต ญาลัน นันบารู หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ทางสายใหม่ หนึ่งในโครงการพัฒนาที่ทาง กองอำนวยความรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ( กอ.รมน.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชนในเรื่องของบาบทในการพัฒนา และเสริมสร้างความมั่นคง ให้กับเยาวชนไทยกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ ตั้งแต่ 14 - 25 ปีที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือไม่มีงานทำ และเคยมีประวัติหรือเคยใช้ยาเสพติด ร่วมเข้าค่ายอบรม เพื่อเป็นการปรับพฤติกรรมเป็นระยะเวลา 7 วัน 6 คืน โดยมีการมุ่งเน้นในการสร้างกำลังใจ การใช้หลักศาสนา ความกตัญญู และยังร่วมให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องของยา\เสพติด โดยสาเหตุที่ทาง กองทัพบก ได้ให้ความสำคัญกับเยาวชนในกลุ่มนี้ เพราะข้อมูลทางสำนักสถิติได้พบว่ากลุ่มเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีตัวเลขจำนวนประชากรมากที่สุด ในสามจังหวัดชายแดนทางภาคใต้โดยมีจำนวน 300,000 คน และจากข้อมูลสถิติยังมีการค้นพบถึง จำนวนของเยาวชน 300,000 คนดังกล่าว ได้มีการอยู่อาศัย ในเขตเทศบาล เพี่ยงแค่ 20 % และที่เหลือ และอีก 80 % คิดเป็นจำนวนมากกว่า 200,000 คน ที่เป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้รับการศึกษา อีกทั้งยังเป็นกลุ่มประชากรที่อยู่กรอบรอบนอกของสังคมไทย ที่อาจถูกชักจูงและล่อลวงจากผู้ก่อการให้เข้าร่วมขบวนการได้ง่าย สาเหตุเพราะ เด็กๆ เหล่านี้มี พฤติกรรมในทางลบ ชอบที่จะมั่วสุม ต่อต้านสังคม ต่อต้านภาครัฐ โดยมียาเสพติดเป็นตัวกระตุ้น จากข้อมูลของสำนักงานการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) พบว่ายาเสพติดชนิด 4 คูณ 100 ได้มีการแพร่ทางระบาดใน จังหวัดทางภาคใต้ มาตั้งแต่ปี 2547 โดยชนิดที่นิยมกันมากที่สุด 1.กัญชา 2.ยาบ้า 3. 4 คูณ 10 การอบรมในโครงการ “ญาลันนันบารู” นั้นใช้เวลา 7 วัน 6 คืน โดยทางกองทัพ มีวิทยากรที่มีความรู้ในด้านของศาสนาฮิสลามที่ถูกต้อง และยังช่วยร่วมปลูกฝังความกตัญญู ต่อพ่อแม่ และการให้ความรู้ที่ถูกต้องของโทษผลร้ายของยาเสพติด และช่วยในการริเริ่มชี้แนะแนวทางเพื่ออนาคตที่ดีกว่า โดยโครงการ ญาลัน นัน บารู ได้เริ่มต้นโครงการเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2550 จนมาถึงในวันนี้ มีจำนวนเยาวชนที่เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 99 รุ่น คิดเป็นจำนวนเยาวชน 12678 คน ภายหลังจากการเข้ารับการรอบรม ทางโครงการได้มีการติดตามการประเมินผลโครงการของเยาวชน โดยมีการจัดสร้างชมรม ญาลัน นันบารู ขึ้นประจำในแต่ละหมู่บ้าน โดยมีผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นผู้นำ มีการจัดกิจกรรมขึ้นทั้งในด้านศาสนา กีฬา และ อาชีพ ในแต่ละหมู่บ้าน โดยกิจกรรมทางศาสนาที่โครงการ ญาลัน นัน บารู ร่วมส่งเสริม คือ กิจกรรมในช่วง 10 วันสุดท้ายของ รอ มะ ฎอน ( ที่เรียกว่า อีฟ ตี ติ กะฮ์ ) โดยจะต้องอยู่ในมัสยิดเป็นเวลา 10 วัน โดยจะมีผลบุญสูงสุดที่มีความสำคัญเทียบเท่า กับการเดินทางไปประกอบพิธี ฮัจญ์ ที่นคร เมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย นับได้ว่ากว่า 2 ปี ที่โครงการ ญาลัน นัน บารู ได้ประสบผลในการสร้างความสำเร็จ จากการมีเยาวชนที่มาเข้าร่วมในโครงการ กว่า 70 % ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการไม่กลับไปเสพยาเสพติด ในการขนขวายในการศึกษาหาความรู้ และทำให้เกิดแรงกระตุ้นบรรดาลใจมีแรงบันดาลที่ต้องการที่จะทำความดีให้กับสังคม ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงที่ทางกองบรรณาธิการ ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดลงข่าว